สภาองค์กรของผู้บริโภคเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง และ ป.ป.ช. ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ผู้บริโภค ผิดหวังมติ กสทช. เตรียมเดินหน้าขอศาลคุ้มครองฉุกเฉิน และร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมเรียกร้อง กสทช. เปิดเผยมติฉบับเต็ม

จากกรณีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 คณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ได้มีการประชุมวาระพิเศษเพื่อพิจารณาลงมติกรณีการขอควบรวมการกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีมติเสียงข้างมาก ด้วยคะแนน 3 – 2 เสียง “รับทราบ” การควบรวมทรู ดีแทค พร้อมกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ นั้น

วันนี้ (21 ตุลาคม 2565) สภาองค์กรของผู้บริโภคได้จัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับมติดังกล่าวของ กสทช. โดยมีสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค และศิริกัญญา ตันสกุล คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมแถลงข่าว

ซึ่งทั้ง 3 แสดงความผิดหวังต่อมติของ กสทช. โดยเตรียมยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน รวมทั้งจะร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วินิจฉัยว่ามติของ กสทช. นั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ และเรียกร้องให้ กสทช. เปิดเผยมติฉบับเต็มให้สาธารณะรับทราบ

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและนักวิชาการที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการคัดค้านการควบรวมทรู – ดีแทค รู้สึกผิดหวังที่ กสทช. ปฏิเสธการใช้อำนาจของตนเอง ว่าไม่มีอำนาจการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ทำได้เพียงรับทราบการเสนอของสำนักงาน ซึ่งขัดกับคำวินิจฉัยของศาลปกครองและคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ระบุว่า กสทช. มีอำนาจในการพิจารณาการควบรวม ทั้งยังขัดต่อมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ด้วย

สำหรับสิ่งที่จะดำเนินการหลังจากนี้ เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคจะเร่งดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา รวมทั้งจะร้องต่อป.ป.ช. วินิจฉัยว่ามติของ กสทช. นั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ทั้งนี้ เรียกร้องให้ กสทช. เปิดเผยมติและความเห็นของกรรมการ

สารี กล่าวอีกว่า ส่วน 14 มาตรการที่ กสทช. จะใช้เป็นเงื่อนไขในการควบรวมนั้น ยังไม่เห็นเรื่องการจัดการโครงสร้างโทรคมนาคม ซึ่งเสนอว่า กสทช. ควรมีการเรียกคืนคลื่นจากบริษัทที่ควบรวม เพราะหากเกิดการควบรวมจะทำให้บริษัทดังกล่าวมีคลื่นมากกว่าผู้แข่งขันอีกรายหนึ่ง โดยมาตรการเรื่องการจัดการโครงสร้างจะมีประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและช่วยลดปัญหาการผูกขาดด้วย นอกจากนี้ เสนอว่ากสทช. ควรมีมาตรฐานกำกับราคาที่ใช้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้เอไอเอสไม่ต้องจ่ายในราคาที่แพงกว่า

ด้าน ศิริกัญญา ตันสกุล คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกระบวนการพิจารณาของ กสทช. โดยระบุว่า มีจุดที่น่าสงสัยอยู่ 2 ประการ คือ 1) กระบวนการลงมติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เป็นการลงมติแบบ 2:2:1 ประธานจึงใช้อำนาจในการออกเสียงอีกครั้งเพื่อตัดสินชี้ขาด อย่างไรก็ตาม เมื่อไปศึกษาระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555

ในข้อ 41 ซึ่งระบุถึงเรื่องการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม โดยการลงมติเรื่องการควบรวมทรู – ดีแทค ต้องใช้หัลกเกณฑ์ตามข้อบังคับ 41 (2) โดยการวินิจฉัยชี้ขาดต้องได้รับมติพิเศษ คือ ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการ “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ดังนั้น การลงมติครั้งที่ผ่านมาที่ลงมติเพียงแค่ 2 เสียง แม้ประธานจะลงมติซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แต่เท่ากับว่าไม่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด การลงมติครั้งนี้จึงมีปัญหาอย่างแน่นอน และ กสทช. ควรออกมาชี้แจงกับประชาชน

2) ประเด็นเรื่อง บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ที่ปรึกษาอิสระซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทที่ยื่นขออนุญาตควบรวม คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความผิดพลาดในเรื่องกระบวนการลงมติของ กสทช. ซึ่งอาจทำให้คำสั่งปกครองในครั้งนี้เป็นโมฆะได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ต้องรอคำตัดสินฉบับเต็มของกรรมการทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง จึงจะได้ทราบความคิดเห็นของคณะกรรมการแต่ละท่าน

สำหรับเรื่อง 14 มาตรการของ กสทช. นั้น ศิริกัญญา ยกตัวอย่างมาตรการเชิงโครงสร้างที่ควรทำและเป็นมาตรการที่ถูกกำหนดในการควบรวมของหลาย ๆ ประเทศเขาทำกัน เช่น คลายคลื่น การกันคลื่นไว้ให้ผู้ประกอบการใหม่ หรือแม้กระทั่งขายพอร์ตลูกค้าของตัวเองให้กับรายใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ในตลาดโทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นมาตรการในลักษณะดังกล่าว อยู่ใน 14 มาตรการของ กสทช. เลย

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า การลงมติรับทราบแบบมีเงื่อนไขอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะมีความความคลุมเครือ สะท้อนถึงการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนมากกว่าจะปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค และประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากไม่มีการแถลงข่าวที่ชัดเจนและสื่อมวลชนไม่สามารถเข้าถึงมติดังกล่าวได้ จึงอยากเรียกร้องให้ กสทช. เปิดเผยมติฉบับเต็มเพื่อให้ผู้บริโภคและสื่อมวลชนสามารถเข้าถึงได้

ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสารฯ กล่าวอีกว่า การที่ กสทช. ระบุว่า ตัวเองมีอำนาจเพียง “รับทราบ”เป็นการลดอำนาจ ลดศักดิ์ศรีของความเป็นองค์กรอิสระโดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้บริโภคขาดที่พึ่ง และผลของการควบรวมประชาชนขาดตัวเลือกในการใช้บริการโทรคมนาคมซึ่งส่งผลต่อเรื่องการผูกขาด ทำให้ประชาชนจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และส่งผลต่อสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนด้วย

ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทรู – ดีแทค และบริษัทโทรคมนาคมต่าง ๆ ออกมาแสดงความชัดเจน และแสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสียของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยากเห็นท่าทีของรัฐบาลต่อเรื่องดังกล่าว ว่าจะส่งเสริมรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้อย่างไร หากมีการควบรวมเหลือ 2 รายจริง ๆ หรือจะส่งเสริมให้ NT พัฒนาขึ้นมาเป็นรายใหญ่รายที่ 3 ได้อย่างไร

“แถลงการณ์ครั้งนี้ เป็นเหมือนการส่งความวิงวอนไปยังกระบวนการยุติธรรม ให้ศาลปกครองรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจให้มีความชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมา กสทช. ไม่นำเสียงคัดค้านมาพิจารณาและพยายามหาแง่มุมกฎหมายมาเลี่ยงบาลีเพื่อเอื้อทุน ดังนั้น ศาลจึงเป็นเหมือนด่านสุดท้ายที่จะให้ความเป็นธรรมกั

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค