เตรียมขยายผล MOU “คนไทยไร้สิทธิ” สู่ความยั่งยืน หลังนำร่องแล้วใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ

9 หน่วยงาน เผยความก้าวหน้า หลังลงนาม MOU ช่วยเหลือคนไทยที่ตกหล่นเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพมาแล้ว 2 ปี ในพื้นที่นำร่อง 7 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเตรียมขยายผล สร้างกลไก สู่ความยั่งยืนเชิงนโยบาย เพื่อไม่ให้ใครต้องไร้สิทธิอีกต่อไป

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนา “ไม่มีใครต้องไร้สิทธิ” เผยความคืบหน้า หลังจากการลงนาม MoU ประสานความร่วมมือพัฒนาการเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพของคนไทยที่ตกหล่นจากสิทธิสถานะทางทะเบียน มา 2 ปี

โดยนำร่อง 7 จังหวัดครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ คือ กทม. ปราจีนบุรี ตราด อุบลราชธานี กาญจนบุรี สงขลา และสระบุรี ภายใต้ความร่วมมือของภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาควิชาการ ที่ครอบคลุมหน่วยงานตามบันทึกข้อตกลง และหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ จากความร่วมมือ 9  หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย

ผศ.ภก.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) นี้ เกิดขึ้นจากการผลักดันของหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาและลดอุปสรรคการเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพของคนไทยตกหล่น เป้าหมายสำคัญของเอ็มโอยูฉบับนี้คือการบูรณาการความร่วมมือดูแลประชาชนกลุ่มที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนโดยเฉพาะคนไทยตกหล่น หรือ ‘คนไทยไร้สิทธิ’ ให้เข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพมากยิ่งขึ้

“ช่วงเวลาที่ผ่านมา ทาง สปสช. วางยุทธศาสตร์ในการสร้างความครอบคลุมการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และได้จัดตั้ง “คณะทำงานพัฒนาการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสถานะ” ขึ้นมา เพื่อเป็นกลไกในการประสานความร่วมมือและการขับเคลื่อนในประเด็นดังกล่าว ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องและเห็นความสำคัญในการสร้างความครอบคลุมของการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ผศ.ภก.ดร.ยุพดี กล่าว

ด้าน คุณกฤติยาณี ยื่นกระโทก ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน (อสม.) กล่าวว่า อยากสะท้อนเสียงว่าผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงมีความเป็นมนุษย์เทียบเท่ากับเราทุกคน ปัญหานี้เกิดขึ้นในเด็กชั้น ป. 3 ซึ่งเราเรียกว่า 4 กูมาร คือเป็นลูกครึ่งสัญชาติไทยมาเลเซีย ซึ่งตนเล่าว่าได้เป็นครูประจำชั้นเด็กนักเรียน ป. 3  เมื่อมีการตรวจสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเด็กที่ไม่มีบัตรประชาชนก็จะถูกกันออกจากอโรงเรียน ซึ่งเราก็จะถามเด็กว่าเป็นอะไรเด็กก็จะมาฟ้องว่า เพื่อนจะล้อว่าไม่ใช่คนไทยไม่มีบัตรประชาชน  แต่ปัจจุบันนี้เด็กเด็กได้มีบัตรประชาชนเป็นของตัวเองแล้ว

เราขอขอบคุณไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น  สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบส และที่สำคัญคือ คณะทำงานคนไทยไร้สิทธิ์และที่อยู่อาศัย ฯลฯ ตนเล่าต่อว่า อยากเห็นทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ อยากให้ลงมือทำและไม่ทอดทิ้งคนไทยด้วยกัน อยากฟากให้ทุกคนมีกำลังใจในการต่อสู้ อยากบอกว่าเราไม่ใช่แค่อาสาสมัคร หรือ อสม. ที่มีหน้าที่ตรวจลูกน้ำยุงลาย เราสามารถทำงานซึ่งเทียบเท่าคือ เป็นแขนเป็นขา เป็นมือ เป็นรองเท้า ที่คอยประสานงานให้กับภาคประชาชนได้ด้วยเราจะอยู่เคียงข้างประชาชนภาคประชาชนต่อไปตลอดไปและตลอดไป

ด้าน คุณณัฐพงศ์ เหมือนรุ่ง เครือข่ายคนไทยไร้สิทธิพื้นที่กาญจนบุรี กล่าวว่า สำหรับเรื่องของแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในช่วงที่เข้ามาเป็นจิตอาสา นั้น ได้เข้ามาทำในช่วงโควิด-19 เข้ามาช่วยในเรื่องภาคประชาชน มันเป็นช่วงที่ประทับใจมากซึ่งเราได้มีโอกาสเจอเด็กคนหนึ่ง ชื่อน้องตะวัน เราได้ช่วยให้น้องมีบัตรประชาชน ซึ่งเป็นผลสำเร็จและเป็นรายแรกที่ได้บัตรประชาชน เราได้เห็นถึงความรู้สึกที่เด็กคนนี้ดีใจและภูมิใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ถ่ายบัตรประชาชน ซึ่ง ยิ่งทำให้เป็นแรงบันดาลใจเรา อยากจะช่วยประชาชนอีกหลายหลายคนที่ยังไม่มีบัตรประชาชน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานจิตอาสาที่เราได้ทำและสานต่อมาถึงทุกวันนี้ มันเป็นพลังบวกมาก

ในส่วนทำแล้วเกิดอะไรขึ้นมีประโยชน์อย่างไร… ตนมองเห็นว่าประชาชนได้เข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการมากขึ้น เข้าถึงหลักประกันสุขภาพซึ่งเป็นหลักหัวใจที่เราเห็นถึงความสำคัญอย่างมาก คนกลุ่มนี้ยังได้เข้าถึงแหล่งสวัสดิการทไม่ว่าจะเป็นทุนการศึกษา อาชีพต่างๆ ที่เขาสามารถได้รับโอกาสด้วยเหมือนกับเด็กและประชาชนทั่วไป

อนาคตเราอยากเห็นการประสานความร่วมมือหรือพัฒนาขององค์กรต่างๆ ระดับผู้นำหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตัวแทนที่เข้ามาขับเคลื่อนในเรื่องของคนไทยที่ตกลงจากสิทธิ์สถานะหรือคนไทยไร้สิทธิ์มากขึ้น เข้ามาสนับสนุนในทุกด้านให้กับจิตอาสาหรือประชาชนที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ยังไม่มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพทั่วประเทศด้วย คุณณัฐพงศ์ กล่าว.

ทางด้าน นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า การสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านเชิงลึกใน กทม. และในเมืองใหญ่ของประเทศไทยช่วง ปี 2559 – 2560 ของ สสส. ร่วมกับ สปสช. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่าย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มสำคัญของการทำงานคนไทยไร้สิทธิ

จากการสำรวจฯ พบว่า คนไร้บ้านประมาณ 30% ในทุกพื้นที่มีปัญหาตกหล่นจากสิทธิสถานะ ส่งผลให้เข้าไม่ถึงหลักประกันทางสุขภาพ และสวัสดิการพื้นฐานพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อมามูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย พบว่า ชุมชนเมืองจำนวนหนึ่งมีกลุ่มคนไทยที่ตกหล่นจากสิทธิสถานะ เป็นข้อมูลที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าปัญหาด้านสิทธิสถานะหรือคนไทยตกหล่น ไม่ได้มีอยู่แต่ในพื้นที่เขตชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น หากแต่ชุมชนเมืองหรือใจกลางเมืองหลวงอย่าง กทม. ก็มีผู้คนที่ประสบปัญหาเช่นกัน จึงนำมาสู่การผลักดันข้อเสนอ ให้เข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยไร้สิทธิหรือคนไทยที่ตกหล่นจากสถานะทางทะเบียน และจัดตั้งคณะทำงานฯ ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นการเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพของคนไทยไร้สิทธิ

“นอกจากนี้ กระบวนการดังกล่าวยังนำไปสู่การเกิดระบบสนับสนุน ช่วยเหลือ แก้ปัญหาให้ประชากรไร้สิทธิในด้านสิทธิสถานะอย่างบูรณาการระดับพื้นที่ เพื่อติดตามการพัฒนาสิทธิ เพื่อร่นระยะเวลาพิสูจน์สิทธิ ให้สามารถเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพเร็วขึ้น จากในอดีตใช้เวลา 10-20 ปี แต่เมื่อร่วมโครงการ สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ และได้เรียกการพิสูจน์สิทธิภายในระยะเวลา 3-12 เดือน ” นางภรณี กล่าว

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค