สรุปข้อเสนอ 4 ภาค และ กทม. ‘เวทีรับฟังความคิดเห็น ระบบบัตรทอง’

สรุปข้อมูลที่เป็นข้อเสนอหลากหลายจากพื้นที่ทั่วประเทศ ในเวทีรับฟังความคิดเห็น “ผู้ให้-ผู้รับบริการ” ในระบบบัตรทอง ภาคใต้เสนอเพิ่มการเข้าถึงบริการคนพิการ อีสานเตรียมพัฒนาพระสงฆ์ เป็น Care Giver ด้านภาคกลางขอให้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เป็นวัสดุทางการแพทย์ เบิกจ่ายใช้ดูแลผู้ป่วยในของ รพ. ได้ ส่วน กทม. ประเด็นร้อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เน้นย้ำต้อง “ที่หน่วยปฐมภูมิ” เท่านั้น


การประชุมสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ เพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2567 จัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ผ่านมา (26 มิ.ย. 67) โดยมีการสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นฯ จาก 4 ภาค และกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยรวบรวมความคิดเห็นจากการทำงานของคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่และ สปสช. เขตทั่วประเทศ ที่ได้รวบรวมเป็นข้อเสนอนำไปสู่การพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท

1

นายยุทธพล ดำรงชื่นสกุล ตัวแทนคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ภาคเหนือ นำเสนอสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นฯ ของภาคเหนือต่อระดับประเทศว่า ความคิดเห็นจากฝั่งผู้ให้และผู้รับบริการในส่วนขอบเขตการบริการสาธารณสุขของภาคเหนือ มุ่งเน้นที่การให้บริการกลุ่มเปราะบาง-คนพิการ โดยเสนอให้นำบริการการแพทย์ทางไกลมาใช้มากขึ้น เพื่อให้บริการกับผู้ป่วยที่อยู่พื้นที่ห่างไกล

รวมถึงพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีศักยภาพบำบัดฟื้นฟูคนพิการ เพิ่มนักกิจกรรมบำบัด และอบรมบุคลากรหลักสูตรกิจกรรมบำบัดเพื่อปฏิบัติงานทดแทนและสามารถเบิกชดเชยค่าบริการจาก สปสช. ได้ ส่วนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) เสนอให้ สปสช. หารือกับกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ และขอให้ยกเลิกการจ่ายกายอุปกรณ์ 9 รายการ ยกเลิกเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการการบำบัดฟื้นฟูในชุมชน 2 รายการ คือ กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด จากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด โดยเบิกจ่ายกับ สปสช. แทน

ส่วนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ มีข้อเสนอให้เพิ่มทางเลือกการยืนยันตัวตน เช่น ใช้สมาร์ทโฟนผ่านแอปที่ยืนยันตัวตนได้ หรือเจ้าหน้าที่สามารถใช้ระบบบตรวจสอบและยืนยันเข้ารับบริการ (Authen) ได้

ณรงค์ อาสายุทธ

ภก.ณรงค์ อาสายุทธ ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ตัวแทนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวนำเสนอผลการรับฟังความเห็นภาคอีสานว่า คณะทำงานโฟกัสนโยบายและบริการในระบบ เพื่อรับฟังข้อเสนอผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ภาคีเครือข่าย โดยสรุปได้ในหลายประเด็น เช่น ให้มีหลักสูตรพัฒนาพระสงฆ์ให้เป็นพระคิลานุปัฏฐาก เพื่อเป็นพระที่ดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธในกุฏฺิชีวาภิบาลตามนโยบายสถานชีวาภิบาล และให้มีตัวแทนองค์กรพระพุทธศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายนี้

อีกประเด็นสำคัญในพื้นที่ คือการเข้าถึงบริการของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ มีข้อเสนอเครือข่ายภาคประชาชนที่ต้องการเป็นจุดแจกถุงยางอนามัยร่วมกับหน่วยบริการ เพื่อเป็นทางเลือกเข้าถึงบริการตามสิทธิ และช่วยส่งเสริมงานป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ หน่วยบบริการนวัตกรรมเสนอให้มีการปรับอัตราเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการที่เหมาะสมกับต้นทุนการบริการ เพิ่มค่าชดเชยการฉีดวัคซีน และเพิ่มอัตราการจ่ายบริการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น เช่น บริการ 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยทีร้านยา และตรวจรักษาโรคเบื้องต้นจากคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์

วิศิษฎ์ ยี่สุ่นทอง

นายวิศิษฎ์ ยี่สุ่นทอง ผู้อำนวยการกลุ่ม สปสช. เขต 6 ระยอง ตัวแทนเขตพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า ภาพรวมยังมุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพของบริการตามนโยบายและชุดสิทธิประโยชน์ในระบบฯ อาทิ ให้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เป็นวัสดุทางการแพทย์เพื่อใช้กับผู้ป่วยในของโรงพยาบาลได้ เพราะญาติและโรงพยาบาลยังต้องรับภาระ รวมถึงท้องถิ่นเสนอให้ สปสช. สนับสนุนจัดตั้งเป็นหน่วยบริการมาตรา 3 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เพื่อให้ตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกำหนดมาตรฐานการบริการให้ชัดเจน

และยังมีประเด็นกลุ่มผู้ป่วยเอชไอวีที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต เสนอให้เพิ่มเตียงในสถานพยาบาลภาครัฐสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ อย่างน้อย 1 เตียงต่อแห่ง ส่วนประเด็นอื่นสำคัญอื่นๆ มีทั้งเสนอให้ตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์กระจายตัวครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะกับเครื่องช่วยฟังที่เป็นชุดสิทธิประโยชน์เพื่อให้ซ่อมแซมอุปกรณ์ รวมไปถึงเพิ่มสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก ในกลุ่มเด็กให้ครอบคลุมมากขึ้นด้วย

วีระพันธ์ ลีธนะกุล

นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 12 สงขลา ตัวแทนเขตพื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า บริบทของภาคใต้มีพื้นที่แนวตะเข็บชายแดน ทะเล เกาะแก่ง อย่างไรก็ตามความเข้าใจในการเข้าถึงบริการตามสิทธิและการตอบสนองต่อนโยบายจากผู้ให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ระบบฯ จึงแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามความเห็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นที่การเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์และเข้าถึงบริการในทุกกลุ่มอายุ โดยเสนอให้เพิ่มยาสำหรับผู้ป่วยที่ขาดโกรทฮอร์โมนขยายวงการเข้าถึงบริการให้ครอบคลุมกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กมากขึ้น

รวมไปถึงให้ร้านจำหน่ายแว่นตาที่มีนักทัศนมาตร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดสายตาและสุขภาพตาเบื้องต้นที่อยู่ประจำร้านแว่นให้เป็นหน่วยบริการส่งต่อเฉพาะด้าน เพื่อบริการในชุดสิทธิประโยชน์ เพราะในหลายพื้นที่ไม่มีนักจักษุแพทย์เข้าไปบริการ ขณะที่ในพื้นที่เกาะแก่งและเขตพื้นที่ทางทะเล หลายแห่งเสนอให้หน่วยบริการมีเครื่องรักษาออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy) เพื่อรักษาโรคน้ำหนีบสำหรับชาวประมงและนักท่องเที่ยวในพื้นที่

น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง

ขณะที่ ทพญ.น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร สรุปการรับฟังความคิดเห็นพื้นที่ กทม. ว่า มีประเด็นร้อนในพื้นที่ คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดยผู้รับบริการขอให้ใช้บัตรประชาชนเข้ารักษา รพ.รัฐ ได้ทุกแห่ง และมีที่สับสนไม่เข้าใจว่าหน่วยบริการนวัตกรรมคืออะไร ขณะที่ผู้ให้บริการขอให้เปลี่ยนเป็น “30 บาทรักษาทุกที่ ที่หน่วยบริการปฐมภูมิ” และให้คัดกรองผู้ป่วยที่หน่วยปฐมภูมิโดยมีระบบส่งต่อเพื่อลดความแออัดใน รพ. รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์เน้นย้ำ “การรักษาทุกที่ ที่หน่วยบริการปฐมภูมิ”

ส่วนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่มีเงินค้างท่อ 1,600 ล้านบาท ไม่ถูกนำไปใช้ โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพราะติดขัดกฎระเบียบกติกาของ กทม. ซึ่งที่ผ่านมา สปสช.เขต 13 ได้ช่วยสนับสนุนให้ภาคประชาชนและหน่วยบริการ เรียนรู้กระบวนการขอรับงบเพื่อไปขับเคลื่อนตามเป้าหมาย นอกจากนี้มีเสนอขยายกลุ่มอายุฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และเพิ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการนวัตกรรม เพื่อให้เข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิมากขึ้น และยังมีเสนอเรื่องของการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยใน ก

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค