เชื่อกม.พีดีพีเอทำปชช.ตระะหนักข้อมูลส่วนตัวแนะหน่วยงานรัฐใช้ช่องทางเก็บข้อมูลเดียวกัน


กสทช.จัดเสวนา ก.ม.พีดีพีเอ กับการจัดการปัญหา SCAM เชื่อช่วยสร้างการตะหนักรู้ ลดข้อมูลรั่ว แต่ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาสแกมได้ทั้งหมด ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เร่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานแก้ปัญหา… 

วันนี้( 30 พ.ค. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( สำนักงาน กสทช.)  มีการจัดเสวนา เอ็นบีทีซี พับลิค ฟอรั่ม ครั้งที่ 1/2565  “กฎหมาย พีดีพีเอ กับมิติใหม่ของการจัดการปัญหา SCAM” โดยนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ของ กสทช, กล่าวว่า  การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ เชื่อว่าจะช่วยการสร้างความตระหนักรู้เรื่องข้อมูลให้กับประชาชนว่าไม่ควรปล่อยข้อมูลให้กับบุคคลอื่นไปง่ายๆ  และเมื่อข้อมูลรั่วก.ม.นี้ช่วยได้ แต่การแก้ปัญหาสแกม โดยการสร้างการรับรู้ไม่ใช่ตัวแปรเดียวที่จะช่วยได้ เนื่องจาก เทคโนโลยีในอนาคตจะสมจริงมากขึ้น กสทช.ควรจะมีวิธีการยืนยันได้ว่าเบอร์ไหนเป็นเบอร์จริง หรือเบอร์หลอกลวง  เนื่องจาก ก.ม.จัดการได้แค่ข้อมูลรั่ว ไม่ได้จัดการเรื่องการวิเคราะห์และหลอกลวง…

นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อนุกรรมการด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบัน มิจฉาชีพได้ข้อมูลส่วนบุคคล มาจาการสุ่ม และข้อมูลที่รั่วไหล ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีการเก็บข้อมูล ส่วนบุคคลจำนวนมาก และหลากหลายช่องทาง จึงเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะฉวยโอกาสสร้าง ช่องทาง หลอกลวงขึ้น ภาครัฐจึงควรจัดให้มีช่องทางเดียว เช่น ใช้อีเมล์เดียวเหมือนที่สิงคโปร์ทำ เพื่อให้ประชาชน รู้ว่าคือช่องทางของรัฐจริงๆ…

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี( ผบก.สอท.) กองบัญชาการ ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยโดนแฮก แล้วนำไปขายในเว็บใต้ดินอย่างต่อเนื่อง การมีกฎหมายนี้น่าจะมีส่วนช่วยให้องค์กรต่างๆ ตระหนักในการเก็บและรักษา ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้รั่วไหลมากขึ้น จากเดิมที่บางองค์กรยังเก็บข้อมูลไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตามยังมีคนไทย ที่ขายข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองอยู่ เช่น การรับจ้างเปิดบัญชีม้า ซึ่ง ก.ม.นี้ยังไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลที่ขายข้อมูลได้ หากยังไม่มีใช้ทำผิด รวมถึงการเอาผิดกับคนที่ซื้อข้อมูลไปเพื่อใช้ประโยชน์

“ เมื่อกฎหมายบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การนำข้อมูลชุดใหม่ๆไปทำผิดกฎหมายลดลง แต่ในทางกลับกันข้อมูลที่รั่วไหลไปก่อนหน้าคงไม่สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ กฎหมายไม่สามารถบังคับย้อนหลังไปเอาผิดกับคนทำข้อมูลรั่วไหลก่อนหน้าที่กฎหมายจะบังคับใช้ได้”

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช. กำลังเสนอประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิ ของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัวฯ ต่อที่ประชุม กสทช. จากนั้นนำ ประชาพิจารณ์ โดยคาดว่าจะบังคับใช้ประมาณไตรมาส 3  ซึ่งเนื้อหาจะสอดรับกับ กม.ลูก พีดีพีเอ ที่กำลังจะยอยออกตามมา ซึ่งจะช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม ได้ดีขึ้นและช่วยลดปัญหาสแกมลดน้อยลงได้…

ด้าน น.ส.พิรงรอง รามสูต  กรรมการ กสทช.  กล่าว การสัมมนาวันนี้ช่วยให้ได้รู้รายละเอียดในการแก้ไขปัญหาสแกม ให้ลดลงได้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยเชื่อว่า การบังคับใช้ พีดีพีเอ จะช่วยลดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลได้ เพราะผู้ควบคุมข้อมูลที่เป็นองค์กรต่างๆที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล จะต้องหามาตรการ และวีธีในการการเก็บให้ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งจะเร่งคณะกรรมการ ขึ้นมาเพื่อร่วมกันทำงานและแก้ปัฯหาในเรื่องนี้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ขณะที่นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ  ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวถึงกรณีหากถ่ายภาพเซลฟี่ แล้วติดใบหน้าคนอื่น เจ้าของภาพสามารถฟ้องคนถ่ายได้หรือไม่ ว่า กฎหมายมีข้อยกเว้น การถ่ายภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตัว งานวรรณกรรม ศิลปกรรม และงานสื่อสารมวลชนที่ดำเนินการตามแนวจริยธรรม ทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณชน หากติดภาพผู้อื่นไป ไม่ถือเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย แต่เจ้าของ ภาพสามารถใช้สิทธิขอให้ลบได้….

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1099429/

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค