วันนี้ ( 16 ธันวาคม 2566 ) จากกรณี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และหน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค แถลงผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคหลังการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม โดยนายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช. แถลงข่าวร่วมกับ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ( 2566 ) มีผลโพลสรุปชัดเจนว่า ร้อยละ 81 ผู้บริโภคระบุปัญหาอันดับ 1 ชี้ชัดผลกระทบ TRUE-DTAC ควบรวมทำอินเทอร์เน็ตลดสปีดผิดเงื่อนไข แถมปรับแพ็กเกจตามอำเภอใจ จี้ ทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา กระตุ้น กสทช.ต้องจริงใจ-จริงจัง จัดการผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค นั้น คลิกเพื่ออ่านผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคหลังการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม
จากการแถลงข่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อมูลซึ่งตีแตกประเด็น “ เพดานอัตราค่าบริการเฉลี่ยต้องลดลงร้อยละ 12 ทันที ซึ่งเป็นเงื่อนไขการควบรวม TRUE- DTAC ที่พ่วงมากับมติ กสทช. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่กำหนดต้องดำเนินการภายใน 90 วัน หลังควบรวมสำเร็จอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มีนาคม 2566แต่เวลานี้เลยกำหนดมาแล้ว แต่กลับยังเห็นการเพิกเฉย
“ค่าบริการเฉลี่ยลดลงร้อยละ 12 หรือไม่อย่างไร หมอลี่ บอกว่า …. ” เป็นเรื่องซับซ้อนในเชิงคณิตศาสตร์ ในเชิงการคำนวณ เพราะสิ่งที่ผู้ให้บริการทำคือส่งรายงานมาให้ กสทช. โดยยืนยัน ได้ลดค่าบริการตามข้อกำหนดการควบรวมกิจการ … สิ่งที่เอกชนส่งมา เป็นตารางข้อมูลที่สำนักงาน กสทช. ต้องไปตรวจสอบ พอตรวจสอบเสร็จ สำนักงานก็นำเสนอว่าปกติ ไม่ว่าจะมีการรวม หรือ ไม่รวมธุรกิจ ต้องส่งรายงาน “รายการส่งเสริมการขาย” ยกตัวอย่าง แต่ก่อน กสทช. บอกว่า อัตราอ้างอิงของค่าบริการมือถือ ห้ามเกินเมกละ 16 สตางค์ ในเมื่อลดเฉลี่ยร้อยละ 12 เท่ากับลดลงมากกว่านั้นอยู่แล้ว “ ปรากฏว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการทำ คือ ขอปรับปรุงตัวเลข คือ รายงานที่ส่งมาแล้ว ไม่เกี่ยวกับการรวมธุรกิจ มีแพ็กเกจงอกขึ้นมา ขอเพิ่มรายละเอียด เต็มไปหมด สำนักงาน กสทช. ก็ยังเกิดคำถาม สิ่งที่งอกมาจริงหรือไม่จริง แต่พอรวมกิจการแล้ว ก็ส่งรายงานอีกฉบับมาให้เปรียบเทียบกัน ( พ.ค. 66 ) ข้อเท็จจริงเบื้องต้น คือ มีค่ายมือถือแห่งหนึ่ง ก่อนรวมธุรกิจ รายงานมาว่า อัตราอ้างอิงของค่าบริการมือถือเฉลี่ย 2 สตางค์ ต่อเมก ประมาณ 20 บาท ต่อ กิกะไบต์ ( ทำให้มองว่า อินเตอร์เน็ต เมืองไทย ราคาถูก ) แต่อันนี้ คือ อัตราค่าบริการเฉลี่ยโดยไม่ได้ถ่วงน้ำหนักของจำนวนผู้บริโภค *** ยกตัวอย่าง แพ็กเกจหนึ่ง คิด 1 สตางค์ อาจจะมีคนใช้งาน แค่ 1-2 คน แต่ แพ็กเกจ ที่คิด 1 บาท อาจจะมีผู้ใช้บริการ 1 ล้านคน แล้วผู้ประกอบการมาเฉลี่ย เอา 100+1 มาหารเพิ่มอีก 50 สตางค์ ซึ่งเป็นการเฉลี่ยแบบไม่ถ่วงน้ำหนัก ของจำนวนผู้บริโภค
สิ่งค่ายมือถือทำก็คือ อัตราลดค่าเฉลี่ยโดยไม่ถ่วงน้ำหนัก พยายามทำ ใส่โปรราคาถูกเยอะๆ แต่ขายโปรนี้น้อยๆ เพื่อมาเฉลี่ย อย่างที่บอก สังเกต ตัวเลขนี้ให้ดีนะครับ โดยปกติเขารายงานว่า อินเทอร์เน็ตแบบราคาเฉลี่ยที่ไม่ถ่วงน้ำหนักเขารายงานแค่ว่า 2 สตางค์ต่อเมก แต่พอถ่วงน้ำหนัก พบว่าน่าตกใจ เพราะมันเพิ่ม 25 เท่า คือ 50 สตางค์ต่อเมก แปลว่า คนไทย เฉลี่ยซื้ออินเทอร์เน็ตค่ายมือถือแห่งนี้เท่ากับ 500 บาท ต่อกิกะไบต์ จากเดิมซื้อแค่ 20 บาทต่อกิกะไบต์
“ดังนั้น วิธีคิดอัตราค่าบริการเฉลี่ย จะต้องเอาจำนวนผู้ใช้บริการมาคำนวณด้วย เมื่อคำนวณจะเห็นความจริงว่า “คนไทยจ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ตราคาแพง ไม่ได้จ่ายถูก” ที่ค่ายมือถือโฆษณาว่า จ่ายถูก คือ การเล่นกลทางคณิตศาสตร์ ดังนั้น 1 คนไทย ผู้ใช้บริการ ที่จ่าย 500 บาท ต่อ กิกะไบต์ ต้องสังเกตให้ดี คนที่ซื้อแบบรายเดือน เอ๊ะ จ่าย 800 บาท ก็ได้ตั้ง 40 กิกะไบต์ จ่าย 400-500 บาท ก็ได้ 10-20 กิ๊ก ราคาไม่ถึงหมื่นบาท อยู่แล้ว แต่คนที่จ่าย 500 บาทต่อ กิกะไบต์ แปลว่าคนที่จ่ายแบกภาระต้นทุนจริงคือ คนใช้มือถือระดับล่าง ที่เติมเน็ตเป็นครั้งๆ ดังนั้น ยิ่งจนมากยิ่งจ่ายเน็ตแพงมาก ยิ่งรวยมากยิ่งซื้อเหมาเยอะๆ ยิ่งถูกมาก ที่ว่า จ่ายถูก เรียกว่า” เล่นกลทางคณิตศาสตร์” แปลว่า คนรับผลกระทบ คือ ชนชั้นล่าง
ทั้งนี้ หมอประวิทย์ เทียบตัวเลขผู้บริโภคร้องเรียนการให้บริการของค่ายมือถือทรู-ดีแทค ก่อนควบรวม และหลังควบรวม มีการร้องเรียนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
“ข้อมูลเรื่องร้องเรียนที่เข้ามาที่ กสทช. เฉพาะ 2 ค่ายทรู ดีแทค ก่อนรวมธุรกิจในช่วง 7 เดือน ( ม.ค. – ก.ค.) ซึ่งยังแยกกันให้บริการของทั้งสองบริษัทฯ มีคนร้องเรียนทั้งหมด 944 ราย เฉลี่ยเดือนละ 135 ราย แต่หลังรวมธุรกิจ ในช่วง 4 เดือน (ส.ค. – พ.ย.66 ) มีคนร้องเรียน 836 ราย เฉลี่ยเดือนละ 210 ราย มีการร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน”