เปิดอันดับ 10 ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบแจ้งมีพัสดุตกค้างว่อนสุด

น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 4-10 มี.ค. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,519,016 ข้อความ หลังการคัดกรองแล้วมีข้อความิ่ที่ต้องดำเนินการ Verify จำนวน 199 ข้อความ รวมจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 106 เรื่อง โดยแบ่งเป็นเรื่องโควิด-19 จำนวน 29 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ในช่วงสัปดาห์ล่าสุดนี้ ได้แก่ อันดับ 1. ไปรษณีย์ไทย ใช้เบอร์ 08-1360-7134 แจ้งมีพัสดุตกค้าง อันดับ 2. ทาปิโตรเลียม เจลลี่ในรูจมูก ช่วยดักจับฝุ่น PM 2.5 อันดับ 3. กินอาหารค้างคืนอุ่นซ้ำ ทำให้เป็นโรคมะเร็ง อันดับ 4. ธ.กรุงไทย ส่งSMS มอบสิทธิ์งินกู้ผ่านไลน์ และโครงการสนับสนุนงินกู้ฉุกเฉินของธนาคารโดยลงทะเบียนผ่านลิงก์ อันดับ 5. ธนบัตร 50 บาท มีรูปมัสยิดอยู่บนธนบัตร

อันดับ 6. ปรากฏการณ์ APHELION โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ระยะทาง 5 นาทีแสง หรือ 90,000,000 กิโลเมตร อันดับ 7. กรมสรรพากรเริ่มเก็บภาษีทุกวัด อันดับ 8. โดนยึดใบขับขี่จะไม่ได้คืน ต้องไปสอบทำใหม่เท่านั้น อันดับ 9. น้ำต้มหญ้างวงช้างและอ้อยดำ รักษามะเร็งปอด และอันดับ 10. แจ้งจับ ขับต่ำกว่า 90 กม. แช่เลนขวา

“จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้า และบริการออนไลน์มากขึ้น ตลาดอี-คอมเมิร์ซขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งผลสำรวจล่าสุดโดย เอ็ดต้า ประเมินว่า มีมูลค่าตลาดเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซในภาพรวมของประเทศไทย และบริการด้านจัดส่งสินค้า ก็คือหนึ่งในองค์ประกอบของอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซ ดังนั้นมิจฉาชีพจึงใช้เป็นช่องทางหลอกลวงประชาชนในรูปแบบใหม่ๆ” นางสาวนพวรรณ กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ต้องขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข้อมูลผ่านโซเชียล อย่าเพิ่งหลงเชื่อในทันที ขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูล โดยสามารถแจ้งข้อมูลมายังศูนย์ฯ เพื่อช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ และยืนยันข้อเท็จจริงต่อไป และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter  เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87… สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/851083/

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค