สปสช.จับมือสภาองค์กรของผู้บริโภค แจ้งผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง “ถูกเรียกเก็บเพิ่ม” ไม่ต้องจ่ายทุกกรณี

สปสช.จับมือสภาองค์กรของผู้บริโภค แจ้งผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง “ถูกเรียกเก็บเพิ่ม” ไม่ต้องจ่ายทุกกรณี ระบุ 5 ปี มีผู้ร้องเรียนกว่า 3,329 เรื่อง เป็นมูลค่าเม็ดเงินประมาณ 35.7 ล้าน ย้ำใช้สิทธิบัตรทองแต่ถูกเรียกเก็บค่ารักษาอย่าเพิ่งจ่าย ให้โทรมาที่สายด่วน สปสช. 1330 

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมแถลงข่าว สปสช. จับมือ สภาองค์กรของผู้บริโภคแก้ปัญหาประชาชนสิทธิบัตรทองถูกหน่วยบริการเรียกเก็บค่ารักษา “ถูกเรียกเก็บเพิ่ม ไม่ต้องจ่าย สิทธิหลักประกันสุขภาพของประชาชน” เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท” ในกรณีที่เป็นการเข้ารับบริการภายใต้สิทธิประโยชน์และขอบเขตบริการ หน่วยบริการไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง ได้ทำเรื่องร้องเรียนกรณี ถูกเรียกเก็บเพิ่มประมาณ 3,329 เรื่อง เป็นมูลค่าเม็ดเงินประมาณ 35.7 ล้านบาท ทั้งที่ การรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง ผู้ป่วยจะไม่ต้องถูกเรียกเก็บไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ก็ตาม

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มอบหมาย ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมมือกับสปสช. ในการช่วยเหลือประชาชนเรียกเก็บเงิน ซึ่งในส่วนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ทำหนังสือไปยังนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการนอกจากนี้ยังมีกรณีหญิงอายุ 72 ปี เข้ารักษาฉุกเฉินด้วยอาการปวดหลังมาก หายใจไม่สะดวก จุกแน่นลิ้นปี่และใต้ราวนมใน รพ.แห่งหนึ่ง ต่อมาแพทย์วินิจฉัยพบเป็นภาวะนิ่วในถุงน้ำดี เบื้องต้นผู้ร้องเรียนแจ้งใช้สิทธิชำระเงินเอง เนื่องจากไม่ทราบว่าสามารถใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ และทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลไม่ได้ให้ข้อมูลว่าสามารถใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ แต่ต่อมาเมื่อผู้ป่วยทราบว่าสามารถใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะขอใช้สิทธิ แต่เจ้าหน้าที่ รพ. ไม่แก้ไขเอกสารให้ โดยให้เซ็นปฏิเสธใช้สิทธิ ถูกเรียกเก็บค่ารักษาจำนวน 56,039.50 บาท เมื่อเรื่องเข้าสู่การคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขมีคำสั่งให้คืนเงินผู้ป่วยเนื่องจากกรณีนี้สามารถใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีสิทธิเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลดังกล่าวได้” เลขาธิการสภาฯ กล่าว

ด้านผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า การแก้ปัญหาของผู้ให้บริการ ต้องไม่ใช่เป็นการเรียกเก็บเงินกับคนไข้ แต่ต้องมาหารือกับทางสปสช.ว่าบริการใดไม่สามารถให้บริการได้ หรือมีปัญหาอะไร จากข้อมูลเรื่องร้องเรียน กรณีถูกเรียกเก็บเงิน ใน 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2565) จะเห็นภาพว่ามีการเรียกเก็บเงิน 3,329เรื่อง โดยเฉลี่ยปีละ 500-1,000 เรื่อง ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขต 13 หรือคนกทม. มีเรื่องร้องเรียน 1,956 เรื่อง

สำหรับกลุ่มอาการโรค พบว่า โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก มีการร้องเรียนมากสุด 259 เรื่อง การบาดเจ็บ อุบัติเหตุต่างๆ 221 เรื่อง การติดเชื้อโรคโควิด 199 เรื่อง โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 185 เรื่อง และ โรคระบบหายใจ 179 เรื่อง

โดยโรคและอาการที่ถูกเรียกเก็บเงินมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคระบบย่อยอาหาร/โรคในช่องปาก บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ติดเชื้อโควิด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ ขณะที่ 5 รายการแรกของบริการที่ถูกเรียกเก็บมากที่สุด คือ บริการรักษาพยาบาล/ยาในบัญชี/ทำแผล, บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค,

ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค